germany-korean-lovers

หญิงชาวเยอรมันตามหาความรักของเธอ ในเกาหลี

After 46 years, German seeks ending to her love story in Seoul

By Choe Sang-Hun

Published: August 22, 2007

International Herald Tribune

Thai Translation: Skyman

http://www.iht.com/articles/2007/08/22/news/korea.php?page=1

SEOUL: Koreans have long looked to Germany for similarities in the nations’ histories, both scarred by war and separation. This week, a 70-year-old German woman has come to South Korea with a tragic love story that is resonating with many on this divided peninsula.

อาทิตย์นี้ หญิงชาวเยอรมันอายุ 70 ปี เดินทางมาที่เกาหลีใต้พร้อมกับเรื่องราวความรักอันแสนเศร้าของเธอ

“He was my first love,” Renate Hong says of the North Korean husband she last saw 46 years ago, in what was then East Germany. “And he should be the last love in my life.”

“เขาคือรักแรกของฉัน” Renate Hong กล่าวถึงสามีชาวเกาหลีเหนือที่พบกันครั้งสุดท้ายเมื่อ 46 ปีที่แล้วในอดีตเยอรมันตะวันออก, “และเขาจะเป็นความรักครั้งสุดท้ายของฉัน”

Hong arrived in Seoul late Tuesday on a 10-day visit aimed at gaining support for a reunion with her husband, Hong Ok Geun, who the German Red Cross has said is alive in North Korea.

Hong มาถึงโซลเมื่อวันอังคารที่แล้วในส่วนหนึ่งของการเยือน 10 วันเพื่อหาการสนับสนุนที่จะทำให้เธอพบกับสามีของเธอ, Hong Ok Geun, ซึ่งกาชาดเยอรมันกล่าวว่าเขายังมีชีวิตอยู่ในเกาหลีเหนือ

For now, South Korea is as close as she can get to him. Almost 20 years after the fall of the Berlin Wall removed one barrier between them, the Korean divide remains.

สำหรับตอนนี้ เกาหลีใต้คือที่ที่ใกล้ที่สุดระหว่างเธอกับสามี หลังจากเกือบ 20 ปีนับจากกำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย สองเกาหลียังคงแบ่งแยกกันอยู่

She planned to deliver a petition Thursday to President Roh Moo Hyun, asking him to raise her case – and those of other German women longing for word about their North Korean husbands – when he meets with the North Korean leader, Kim Jong Il, in Pyongyang on Oct. 2 to 4.

เธอวางแผนจะส่งคำร้องไปยังประธานาธิปดี Roh Moo Hyun ในวันพฤหัส ขอร้องให้ท่านปธน. ช่วยเหลือเธอและหญิงชาวเยอรมันคนอื่น ๆ ที่กำลังคอยฟังข่าวสามีชาวเกาหลีเหนือของพวกเธอ เมื่อท่านปธน.จะพบกับผู้นำเกาหลีเหนือ Kim Jong Il ที่เปียงยางในวันที่ 2 – 4 ต.ค. นี้

“I know that I don’t have a future with him, since he has another family in the North,” she said of her husband. “I want to at least meet him to talk about our lives of all these years. I want our sons to meet their father, of whom they have no memory, and hear what a great time their parents had once had together.”

“ฉันรู้ว่าฉันไม่มีทางอนาคตร่วมกับเขา ในเมื่อเขามีครอบครัวที่เกาหลีเหนือ” เธอกล่าวถึงสามีเธอ “สิ่งที่ฉันต้องการคือ อย่างน้อยจะได้พบกับเขาและพูดคุยถึงวันคืนที่เคยอยู่ด้วยกันมา ฉันอยากให้ลูก ๆ ของเราพบหน้าพ่อ, คนซึ่งเขาไม่เคยรู้จัก, และได้ยินเรื่องราวดี ๆ ระหว่างที่พ่อแม่ของเขาอยู่ด้วยกัน”

Renate Kleinle and Hong Ok Geun met in 1955, when they were students at Friedrich Schiller University in Jena, 220 kilometers, or 140 miles, southwest of Berlin. They attended the same freshman chemistry class.

Renate Kleinle และ Hong Ok Geun พบกันในปี 1955 ในระหว่างเป็นนักศึกษาอยู่ที่ Friedrich Schiller University ใน Jena 220 กม. ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบอร์ลิน พวกเขาเรียนวิชาเคมีด้วยกันตอนปี 1

Renate, a shy 18-year-old, was curious about the exchange students from North Korea, then East Germany’s Communist ally, who sat together at the front of the classroom. She was especially interested in Hong, a funny 21-year-old who was fluent in German. Later, she said, he courted her at a party with wonderful waltz steps.

Renate หญิงสาวขี้อายอายุ 18 ปี, รู้สึกสนใจนักเรียนแลกเปลี่ยนชาวเกาหลีเหนือในเยอรมันตะวันออกซึ่งเป็นพันธมิตรกับเกาหลีเหนือ พวกเขานั่งด้วยกันหน้าชั่นเรียน เธอรู้สึกสนใจ Hong เป็นพิเศษ เขาเป็นชายขี้เล่นอายุ 21 ปี ซึ่งพูดภาษาเยอรมันได้ดีเยี่ยม หลังจากนั้นเธอกล่าวว่าเขาจีบเธอในงานปาร์ตี้ในระหว่างเต้น waltz ที่น่าประทับใจ

“It was really his eyes that caught my heart,” she said in an interview. “I still see those eyes when I think about him.”

“ตาของเขาตรึงใจฉัน” เธอกล่าวระหว่างการสัมภาษณ์ “ฉันยังเห็นตาคู่นั้นเมื่อฉันคิดถึงเขา”

They married in February 1960, in a small town where the local authorities were unaware that marriages of North Korean students to East Germans were frowned on by both governments. There were no guests. Four months later, their first son, Peter Hyon Chol Hong, was born.

พวกเขาแต่งงานกันในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1960 ในเมืองเล็ก ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่ได้ตระหนักว่าการแต่งงานระหว่างนักเรียนชาวเกาหลีกับหญิงชางเยอรมันตะวันออกจะไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ ในงานไม่มีแขก และสี่เดือนต่อมา ลูกคนแรกของพวกเขา Peter Hyon Chol Hong ก็ถือกำเนิดขึ้น

North Korean students were under constant surveillance, she said. Even after they were married, her husband had to return each night to the dormitory where the 12 North Korean students in Jena lived.

นักเรียนชาวเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การควบคุมที่เข้มงวด, เธอกล่าว, แม้ว่าพวกเขาจะแต่งงานกันแล้ว สามีของเธอต้องกลับไปที่หอพักซึ่งนักศึกษาชาวเกาหลีเหนือ 12 คนพักอยู่ทุกคืน

The couple’s happy time came to an abrupt halt in April 1961.

เวลาแห่งความสุขของพวกเขาถูกทำลายในเดือนเมษายน 1961

Because a few North Korean students had defected to the West, the Pyongyang government recalled all 350 of its students. They were given 48 hours to pack and report to the North Korean Embassy in Berlin.

เพราะว่านักศึกษาชาวเกาหลีเหนือบางคนได้หลบหนีเข้าไปในฝั่งเยอรมันตะวันตก รัฐบาลเปียงยางจึงเรียกนักศึกษาทั้ง 350 คนกลับ พวกเขามีเวลา 48 ชั่วโมงเพื่อจัดกระเป๋าและรายงานตัวต่อสถานฑูตเกาหลีเหนือในเบอร์ลิน

Several students’ wives followed their husbands to North Korea. (All, it is believed, eventually returned, having failed to adapt to life there.) Renate, five months pregnant with their second son, was too weak for the two-week train ride.

ภรรยาของนักศึกษาเกาหลีเหนือหลายคนตามสามีของพวกเธอกลับไปเกาหลีเหนือ (ซึ่งเชื่อว่าทั้งหมดเดินทางกลับมาภายหลังเนื่องจากปรับตัวเข้ากับชีวิตในเกาหลีเหนือไม่ได้) Renate ซึ่งกำลังตั้งท้องลูกชายคนที่ 2 มา 5 เดือนไม่สามารถเดินทางไปกับสามีของเธอบนรถไฟที่ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ได้

“My husband said he must return to the North but did not explain why,” she said. “He was holding our 10-month-old baby, and I had never seen him crying so much. I felt helpless, but I hoped that our separation would be only temporary.”

“สามีของฉันกล่าวว่าเขาต้องกลับเกาหลีเหนือแต่เขาไม่ได้อธิบายเหตุผลว่าทำไม” เธอกล่าว “เขากำลังอุ้มลูกชายอายุ 10 เดือน และฉันก็ไม่เคยเห็นเขาร้องไห้มากเท่านี้มาก่อน ฉันรู้ว่าฉันไม่อาจช่วยอะไรได้ และได้แต่หวังว่าการจากกันครั้งนี้คงเป็นเพียงการจากกันชั่วคราว”

Over the next two years, he sent her more than 50 letters. In a letter dated Feb. 26, 1963, he asked whether Uwe, the son he had never seen, could stand up.

ใน 2 ปีนับจากนั้น เขาส่งจดหมายมากกว่า 50 ฉบับมาหาเธอ ในจดหมายลงวันที่ 26 ก.พ. 1963 เขาถามว่า Uwe ลูกชายที่เขาไม่เคยเห็นยืนได้หรือยัง

Then he said: “This sounds like a real goodbye letter.”

และเขาก็กล่าวว่า “นี่อาจจะเป็นจดหมายบอกลา”

No more letters came. Hers were returned as undeliverable.

ไม่มีจดหมายมาอีกเลยนับจากนั้น จดหมายของเธอถูกตีกลับเพราะไม่สามารถส่งถึงมือผู้รับได้

Renate appealed to the North Korean Embassy to let her husband return to Germany. But the embassy said North Korea, desperate to rebuild its economy after the Korean War, could not “give up even a single citizen” and asked for her “understanding.”

Renate ยืนคำร้องไปที่สถานฑูตเกาหลีเหนือเพื่อขอให้สามีของเธอกลับมาเยอรมัน แต่สถานฑูตกล่าวว่าเกาหลีเหนือซึ่งกำลังพยายามสร้างเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่หลังจากสงครามเกาหลีนั้น ไม่สามารถ “เสียประชากรของตนได้แม้เพียงคนเดียว” และขอให้เธอ “เข้าใจ”

Renate raised their two sons in Jena, working for 10 years as a chemistry teacher, then as a chemist at a pharmaceutical company until she retired in 1997. Their son, Peter, grew up to become a dairy farmer. Uwe, like his parents, is a chemist.

Renate เลี้ยงลูกของเธอใน Jena และทำงานเป็นครูสอนเคมีอยู่ 10 ปี ต่อมาเธอเข้าทำงานเป็นนักเคมีในบริษัทยาจนเกษียรในปี 1997 ลูกของเธอ, Peter, ทำงานในฟาร์มโคนม ส่วน Uwe เป็นนักเคมีเหมือนพ่อแม่ของเขา

“I did not remarry because I didn’t want my children to have a stepfather,” she said.

“ฉันไม่ได้แต่งงานใหม่เพราะฉันไม่ต้องการให้ลูกมีพ่อเลี้ยง” เธอกล่าว

In 1989, a former North Korean student on a business trip to East Germany came to see Renate in Jena. He said her husband was well but said little more.

ในปี 1989 อดีตนักเรียนชาวเกาหลีเหนือซึ่งเดือนทางมาเรื่องธุรกิจในเยอรมันตะวันออกมาหา Renate ใน Jena เขากล่าวว่าสามีของเธอสบายดี

Last year, she began appealing for help to the German government and Red Cross societies in Germany and South Korea. Early this year, the German Red Cross said Hong Ok Geun was retired and living with his family in North Korea, whose citizens are allowed little if any contact with the wider world.

ปีที่แล้ว เธอเริ่มยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมันและเหล่ากาชาดในเยอรมันและเกาหลีใต้ เมื่อต้นปีนี้ กาชาดเยอรมันบอกเธอว่า Hong Ok Geun เกษียรและอยู่กับครอบครัวของเขาในเกาหลีเหนือ; ซึ่งไม่อนุญาตให้ประชากรติดต่อกับโลกภายนอก

During her stay in Seoul, Renate plans to seek South Korean Red Cross officials’ advice on family reunions. Since the meeting between the two Koreas in 2000, the Red Cross has arranged thousands of reunions of family members who have been separated since the Korean War more than half a century ago.

ในระหว่างที่เธอพักอยู่ในโซล Renate วางแผนที่จะเข้าพบเจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษาเรื่องการพบกันของชาวเกาหลีเหนือและใต้ของกาชาดเกาหลีใต้ หลังจากการพบกันของสองเกาหลีในปี 2000 กาชาดได้จัดการให้สมาชิกครอบครัวเป็นพัน ๆ คนซึ่งแยกจากกันนับตั้งแต่สงครามเกาหลีมากว่า 50 ปีได้พบกัน

Over the years, Renate has compiled three albums of photographs of her two sons, hoping that one day Hong Ok Geun will be able to leaf through them. Her memorabilia from their time together includes a dried flower petal he sent with a letter and a dog-eared notebook she once used to practice common Korean expressions.

ที่ช่วงที่ผ่านมา Renate ได้ทำอัลบั้มรูปของลูกชายทั้งสองคนของเธอจำนวน 3 อัลบั้ม ด้วยหวังว่าวันหนึ่ง Hong Ok Geun จะสามารถดูมันได้ นอกจากนั้นยังมีดอกไม้แห้งซึ่งเขาส่งมาให้เธอพร้อมจดหมายและหนังสือขนาดเล็กซึ่งเธอเคยใช้ฝึกภาษาเกาหลี

One of the phrases is “dasi bobsida,” which means “I hope to see you again.” That’s the expression she says she would use if she were allowed to see her husband again, however briefly.

มีประโยคหนึ่งในนั้นกล่าวว่า “dasi bobsida,” ซึ่งแปลว่า “ฉันหวังว่าจะได้พบคุณอีกครั้ง” เป็นประโยคที่เธอจะใช้ถ้าเธอได้รับอนุญาตให้พบสามีของเธออีกครั้งหนึ่ง.